send link to app

DBweld


4.4 ( 1824 ratings )
教育
开发 Pusharee Nuendang
自由

อุตสาหกรรมเหล็กโลหะและผลิตภัณฑ์ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญหนึ่งของประเทศไทย โดยโลหะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในกระบวนการผลิตละการแปรรูปสินค้าต่างๆ ในอุตสาหกรรมหลายประเภทเช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล แม่พิมพ์โลหะ และเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น จากการศึกษาค้นคว้าจากผู้เชี่ยวชาญสามารถทำให้คุณสมบัติขอโลหะดีขึ้นกว่าเดิมทั้งในกระบวนการผลิตและการซ่อมบำรุงโลหะที่เกิดการชำรุดเสียหาย นั้นก็คือกระบวนการเชื่อมโลหะ [49]
กระบวนการเชื่อมนั้นเกิดจากความร้อนที่ได้จากพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดวัฏจักรของความร้อน (Thermal Cycle) ขึ้นกับเนื้อโลหะงานที่อยู่ใกล้ชิดกับรอยเชื่อม ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการหลอมละลายของโลหะตรงรอยต่อของชิ้นงานเท่านั้น มันยังมีผลต่อโครงสร้างของโลหะงานที่อยู่ใกล้กับบ่อหลอมละลายของรอยเชื่อม โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้คือ 1. ส่วนของรอยเชื่อม (Weld Metal) เป็นส่วนที่เกิดจากการเย็นตัวของบ่อหลอมละลาย 2. บริเวณได้รับผลกระทบจากความร้อน (Heat Affect Zone) อันได้แก่ส่วนของโลหะงานซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับรอยเชื่อม ความร้อนจากบ่อหลอมละลายและการเย็นตัวของงานมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างของโลหะ 3. บริเวณที่ถัดจากบริเวณกระทบร้อนโครงสร้างของโลหะตลอดจนส่วนผสมทางเคมีในส่วนนี้ยังคงเดิม [3]
ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าในการเชื่อมวัสดุโลหะแบบต่างๆ พบว่ากระบวนการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้แก๊สปกคลุม (Gas Metal Are Welding : GMAW) เป็นการเชื่อมที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมเนื่องจากที่สามารถเชื่อมได้ทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automatic) และแบบอัตโนมัติ (Automatic) โดยอาศัยพลังงานจากการอาร์ค ทำให้เกิดวามร้อนทำให้ปลายลวดเชื่อม (Consumable Electrode) หลอมละลายเติมเนื้อเชื่อมลงในบ่อหลอมละลาย [51] จากที่กล่าวมานั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของความรู้พื้นฐานของกระบวนการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าแบบใช้แก๊สปกคลุม (Gas Metal Are Welding : GMAW) ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาค้นคว้าสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ เหล่านี้และนำเสนอในรูปแบบสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับปัจจุบัน
โดยในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นยุคโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนคือ การสื่อสารที่ไร้ขีด จำกัดไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดในโลกหากมีการเชื่อมต่อสื่อสารก็สามารถนำประโยชน์ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Application ด้านอินเทอร์เน็ต เช่น Web search และที่สำคัญคือการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้มีผู้ที่เชี่ยวชาญได้ออกมาให้คำนิยามการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่าย Internet ว่า Distance Learning หรือ e-learning ซึ่ง e-learning กลายเป็น เครื่องมือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันและได้ พัฒนามาแนวทางใหม่คือ m-learning ซึ่งมีความสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลในทุกที่ที่มีอุปกรณ์ที่เป็น Mobile หรือสามารถพกพาไปได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่โดยผ่านระบบเครือข่าย GPRS 3G เป็นต้น [ธงชัย แก้วกิริยา: 2552] จากตัวเลขจากการรายงานของกระทรวง ICT ที่มียอดของ TOT และผู้ให้บริการรายอื่น (MVNO) เข้าไปด้วยนั้นจะมียอดผู้ใช้งานมือถืออยู่ที่ 75.5 ล้านรายในปี 2011 และเมื่อย้อนไปในปี 2001 (10 ปีย้อนหลัง) พบว่ายอดผู้ใช้มีอยู่เพียง 7.5 ล้านรายนับว่าประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของคนใช้งานโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 100% เลยทีเดียว ในขณะที่ประชากรของประเทศไทยอยู่ที่ราว 67.7 ล้านคนนั่นหมายความว่ายอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือของไทยเทียบกับจำนวน ประชากรนั้นอยู่ที่ 109% โดยมีอัตราการใช้งานหลายเบอร์ Multiple SIM สูงถึง 35% [50]
ดังนั้นในยุคที่สมาร์ตโฟนเข้ามาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลต่างๆ จึงมีช่องทางมากมาย ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นช่องทางเหล่านี้ในการประยุกต์เข้ากับระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา การวิจัยของการเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนและกรณีศึกษาที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นเอง เพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาแบบศึกษาด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเชื่อมแบบแก๊สปกคลุมและเหล็กกล้าคาร์บอน ในการค้นคว้าหาข้อมูลและเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้โครงสร้างงานเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนต่อไป โดยไม่ต้องยึดติดกับสถานที่ทำให้สามารถใช้เวลาว่างที่มีอยู่ทำสิ่งที่มีประโยชน์มากขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา”